วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รื้อมาตรฐานข้าวหอม สร้างสรรค์หรือทำลายข้าวหอมมะลิไทย


รื้อมาตรฐานข้าวหอม สร้างสรรค์หรือทำลายข้าวหอมมะลิไทย
ตามที่ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศใช้เครื่องพ่นสี ได้มีนโยบายที่จะรื้อมาตรฐานข้าวหอมจากเดิมกำหนดส่งออกข้าวหอมมะลิไทย มี 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และมาตรฐาน 92% โดยอ้างว่าได้รับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการด้านข้าวที่ต้องการให้มีมาตรการเพิ่มมาตรฐานข้าวหอมมะลิในเกรด 70% หรือ 80% เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดข้าว บางประเทศที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิผสมโดยมีสัดส่วนข้าวหอมมะลิ 70% หรือ 80% ที่เหลือให้นำข้าวชนิดอื่นมาผสม

การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไว้ 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และ 92% ได้มีความพยายามมาตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งขณะนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการพิจารณาในการกำหนดข้าวหอมมะลิให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดที่ทั่วโลกยอมรับ เพราะก่อนปี 2539 การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิมีหลายมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน 70% และมาตรฐาน 80% มาตรฐาน 90% เป็นต้น ทำให้เกิดความเสียหายจากคุณภาพของข้าวหอมมะลิ ซึ่งถือว่าเป็นข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก และมีปริมาณจำกัด เพราะปลูกได้เฉพาะในพื้นที่นาข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากข้าวหอมมะลิ 105 ไม่ต้องการปริมาณน้ำที่มากเกินไป ชอบสภาพดินที่มีความเค็มเล็กน้อย เป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี จากสภาพความจำกัดของความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งการปลูกได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง ทำให้ข้าวหอมมะลิของประเทศไทย จึงมีปริมาณผลผลิตน้อยแต่มีคุณภาพข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก มีกลิ่นหอม ข้าวนุ่ม เพราะมีเปอร์เซ็นต์ Amylose (อมิโลส) อยู่ที่ 17-18 ทำให้ราคาข้าวหอมมะลิจึงสูงกว่าราคาข้าวชนิดอื่นๆ แต่เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิที่มีข้าวอื่นปนอยู่ด้วย มีส่วนทำให้ข้าวหอมมะลิที่มีขายในตลาดมีคุณภาพต่ำลง และทำให้จำนวนข้าวหอมมะลิที่ถูกปนโดยข้าวอื่นมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว ถือว่าเป็นการทำลายคุณภาพของข้าวหอมมะลิโดยความเห็นแก่ตัวของพ่อค้าข้าว โดยความร่วมมือของส่วนราชการที่ได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวออกมา

จากปัญหาของการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิหลายมาตรฐาน ที่ทำให้เราไม่มีข้าวหอมมะลิ 100% ถือว่าเป็นการทำลายคุณภาพของข้าวหอมมะลิที่เป็นข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก จึงได้มีความพยายามที่จะให้มีการกำหนดข้าวหอมมะลิให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดที่โลกยอมรับ ดังนั้นในปี 2539 จึงได้มีความพยายามร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับภาคเอกชนบางราย คือ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ ตรา หงส์ทอง ที่มีชื่อเสียง จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิขึ้นมาใหม่ และได้ข้อยุติว่ามาตรฐานข้าวหอมมะลิควรจะมีเพียง 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และมาตรฐาน 92%

จากความพยายามดังกล่าว ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในขณะนั้น คือ คุณอดิศัย โพธารามิก ที่ได้นำแนวทางดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายภายใต้การหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ซึ่งผมเป็นประธานคณะกรรมาธิการ อยู่ในปี 2544

มาตรฐานข้าวหอมมะลิจึงมีเพียง 2 มาตรฐาน ดังที่ได้ใช้อยู่ถึงปัจจุบัน คือ มาตรฐาน 98% หรือมีเนื้อข้าวหอมมะลิไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 มีสิ่งเจือปนได้ไม่เกินร้อยละ 2 และมาตรฐาน 92% หรือมีสิ่งเจือปนได้ไม่เกินร้อยละ 8 และได้ใช้มาตรฐานนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ผมไม่ทราบว่า คุณดวงพร ได้ใช้ตรรกะอย่างไรที่จะให้ยกเลิกมาตรฐาน 98% แต่ให้คงมาตรฐาน 92% ไว้ และให้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 70% โดยให้มีข้าวอื่นปนได้ 30% หรืออาจจะมีมาตรฐาน 80% และมีข้าวอื่นปนได้ 20% เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะเรียกข้าวนี้ว่าเป็นข้าวหอมมะลิได้อย่างไร นโยบายเช่นนี้คือนโยบายทำลายข้าวหอมมะลิของชาวนาไทยและประเทศไทยโดยรวม

คุณดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ไม่เคยปลูกข้าว ท่านคงจะไม่รู้สึกภูมิใจต่อข้าวหอมมะลิไทยเหมือนชาวนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ปลูกข้าวหอมมะลิหรือนักวิจัยพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่วิจัยพบพันธุ์ข้าวนี้มาตั้งแต่ปี 2504 ที่มีส่วนทำให้ชื่อเสียงข้าวไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ท่านจึงมีความคิดโดยอ้างว่าเป็นความต้องการของพ่อค้า และท่านได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาชาวนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิบ้างแล้วหรือยัง หรือท่านเพียงแต่รับฟังข้อเสนอจากพ่อค้าข้าวเพียงฝ่ายเดียว

ผมคิดว่า กระทรวงพาณิชย์ คงต้องพิจารณากันอย่างจริงจังสักครั้งว่า นโยบายและมาตรการต่างๆ ที่ท่านได้ดำเนินการเรื่องข้าว โดยข้าราชการเองหรือตามใบสั่งนักการเมืองที่ใช้กระทรวงพาณิชย์เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าว ตั้งแต่ปี 2554 - 2557 ที่รัฐบาลได้ใช้เงินถึง 9.8 แสนล้านบาท รับจำนำข้าวจำนวน 54.4 ล้านตัน และมีตัวเลขการขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท และโครงการรับจำนำนี้มีการทุจริตทุกขั้นตอน รวมทั้งการจำหน่ายข้าวถุงของ อคส. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ก็พบการทุจริตจากการตรวจสอบพบของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา หรือนโยบายเกี่ยวกับข้าวอื่นๆ ที่ได้ใช้เงินในเรื่องการตลาดข้าวอย่างมหาศาล โดยผ่านคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งมีข้าราชการของกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้คนส่วนใหญ่จะชี้ไปที่นักการเมือง แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ที่ขับเคลื่อนโครงการนี้คือข้าราชการประจำ เช่น ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอคส. เป็นต้น (ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาดังกล่าว) ซึ่งท่านไม่สามารถที่จะปัดความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เพราะท่านมีอำนาจหน้าที่ที่จะสามารถทักท้วงได้ แต่ท่านไม่ทำ อาจจะเป็นเพราะเกรงกลัวนักการเมืองหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าพวกท่านในฐานะที่เป็นข้าราชการหรือเป็นข้าของแผ่นดินอย่างแท้จริง ท่านจะต้องไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองชั่วเหล่านี้อย่างเด็ดขาด ส่วนจะมีใครต้องรับผิดชอบบ้างนั้น คงต้องรอผลการชี้มูลความผิดจากป.ป.ช. ซึ่งคงจะมีผลออกมาภายในเวลาไม่ช้านี้

นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่ทำลายข้าวไทยในทุกมิติอย่างยับเยินแล้ว ท่านยังจะทำลายข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง คือ การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิเพื่อเอาใจพ่อค้าที่จะใช้ข้าวอื่นมาปลอมปนกับข้าวหอมมะลิ ซึ่งก็คงจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่คิดเช่นนี้ได้ เช่นเดียวกับนโยบายจำนำข้าวที่เป็นโครงการอุดหนุนที่แพงและสร้างความเสียหายใหญ่หลวงที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายเกษตรไทย อุดหนุนชาวนามีฐานะ ผู้บริโภค โรงสี โกดัง ผู้ตรวจข้าว สร้างความร่ำรวยให้พ่อค้า พรรคพวก และนักการเมือง (TDRI: กรุงเทพธุรกิจ)

กระทรวงพาณิชย์ โปรดหยุดและทบทวนบทบาทและหน้าที่ของท่านต่อนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวได้แล้วหรือยัง อย่าทำลายข้าวไทยให้มากไปกว่านี้อีกเลยตามที่ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้มีนโยบายที่จะรื้อมาตรฐานข้าวหอมจากเดิมกำหนดส่งออกข้าวหอมมะลิไทย มี 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และมาตรฐาน 92% โดยอ้างว่าได้รับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการด้านข้าวที่ต้องการให้มีมาตรการเพิ่มมาตรฐานข้าวหอมมะลิในเกรด 70% หรือ 80% เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดข้าว บางประเทศที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิผสมโดยมีสัดส่วนข้าวหอมมะลิ 70% หรือ 80% ที่เหลือให้นำข้าวชนิดอื่นมาผสม

การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไว้ 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และ 92% ได้มีความพยายามมาตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งขณะนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการพิจารณาในการกำหนดข้าวหอมมะลิให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดที่ทั่วโลกยอมรับ เพราะก่อนปี 2539 การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิมีหลายมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน 70% และมาตรฐาน 80% มาตรฐาน 90% เป็นต้น ทำให้เกิดความเสียหายจากคุณภาพของข้าวหอมมะลิ ซึ่งถือว่าเป็นข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก และมีปริมาณจำกัด เพราะปลูกได้เฉพาะในพื้นที่นาข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากข้าวหอมมะลิ 105 ไม่ต้องการปริมาณน้ำที่มากเกินไป ชอบสภาพดินที่มีความเค็มเล็กน้อย เป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี จากสภาพความจำกัดของความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งการปลูกได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง ทำให้ข้าวหอมมะลิของประเทศไทย จึงมีปริมาณผลผลิตน้อยแต่มีคุณภาพข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก มีกลิ่นหอม ข้าวนุ่ม เพราะมีเปอร์เซ็นต์ Amylose (อมิโลส) อยู่ที่ 17-18 ทำให้ราคาข้าวหอมมะลิจึงสูงกว่าราคาข้าวชนิดอื่นๆ แต่เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิที่มีข้าวอื่นปนอยู่ด้วย มีส่วนทำให้ข้าวหอมมะลิที่มีขายในตลาดมีคุณภาพต่ำลง และทำให้จำนวนข้าวหอมมะลิที่ถูกปนโดยข้าวอื่นมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว ถือว่าเป็นการทำลายคุณภาพของข้าวหอมมะลิโดยความเห็นแก่ตัวของพ่อค้าข้าว โดยความร่วมมือของส่วนราชการที่ได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวออกมา

จากปัญหาของการกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิหลายมาตรฐาน ที่ทำให้เราไม่มีข้าวหอมมะลิ 100% ถือว่าเป็นการทำลายคุณภาพของข้าวหอมมะลิที่เป็นข้าวเมล็ดยาวที่ดีที่สุดในโลก จึงได้มีความพยายามที่จะให้มีการกำหนดข้าวหอมมะลิให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดที่โลกยอมรับ ดังนั้นในปี 2539 จึงได้มีความพยายามร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับภาคเอกชนบางราย คือ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ ตรา หงส์ทอง ที่มีชื่อเสียง จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิขึ้นมาใหม่ และได้ข้อยุติว่ามาตรฐานข้าวหอมมะลิควรจะมีเพียง 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐาน 98% และมาตรฐาน 92%

จากความพยายามดังกล่าว ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในขณะนั้น คือ คุณอดิศัย โพธารามิก ที่ได้นำแนวทางดังกล่าวมากำหนดเป็นนโยบายภายใต้การหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ซึ่งผมเป็นประธานคณะกรรมาธิการ อยู่ในปี 2544

มาตรฐานข้าวหอมมะลิจึงมีเพียง 2 มาตรฐาน ดังที่ได้ใช้อยู่ถึงปัจจุบัน คือ มาตรฐาน 98% หรือมีเนื้อข้าวหอมมะลิไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 มีสิ่งเจือปนได้ไม่เกินร้อยละ 2 และมาตรฐาน 92% หรือมีสิ่งเจือปนได้ไม่เกินร้อยละ 8 และได้ใช้มาตรฐานนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ผมไม่ทราบว่า คุณดวงพร ได้ใช้ตรรกะอย่างไรที่จะให้ยกเลิกมาตรฐาน 98% แต่ให้คงมาตรฐาน 92% ไว้ และให้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 70% โดยให้มีข้าวอื่นปนได้ 30% หรืออาจจะมีมาตรฐาน 80% และมีข้าวอื่นปนได้ 20% เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะเรียกข้าวนี้ว่าเป็นข้าวหอมมะลิได้อย่างไร นโยบายเช่นนี้คือนโยบายทำลายข้าวหอมมะลิของชาวนาไทยและประเทศไทยโดยรวม

คุณดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ไม่เคยปลูกข้าว ท่านคงจะไม่รู้สึกภูมิใจต่อข้าวหอมมะลิไทยเหมือนชาวนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ปลูกข้าวหอมมะลิหรือนักวิจัยพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่วิจัยพบพันธุ์ข้าวนี้มาตั้งแต่ปี 2504 ที่มีส่วนทำให้ชื่อเสียงข้าวไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ท่านจึงมีความคิดโดยอ้างว่าเป็นความต้องการของพ่อค้า และท่านได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาชาวนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิบ้างแล้วหรือยัง หรือท่านเพียงแต่รับฟังข้อเสนอจากพ่อค้าข้าวเพียงฝ่ายเดียว

ผมคิดว่า กระทรวงพาณิชย์ คงต้องพิจารณากันอย่างจริงจังสักครั้งว่า นโยบายและมาตรการต่างๆ ที่ท่านได้ดำเนินการเรื่องข้าว โดยข้าราชการเองหรือตามใบสั่งนักการเมืองที่ใช้กระทรวงพาณิชย์เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าว ตั้งแต่ปี 2554 - 2557 ที่รัฐบาลได้ใช้เงินถึง 9.8 แสนล้านบาท รับจำนำข้าวจำนวน 54.4 ล้านตัน และมีตัวเลขการขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท และโครงการรับจำนำนี้มีการทุจริตทุกขั้นตอน รวมทั้งการจำหน่ายข้าวถุงของ อคส. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ก็พบการทุจริตจากการตรวจสอบพบของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา หรือนโยบายเกี่ยวกับข้าวอื่นๆ ที่ได้ใช้เงินในเรื่องการตลาดข้าวอย่างมหาศาล โดยผ่านคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งมีข้าราชการของกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้คนส่วนใหญ่จะชี้ไปที่นักการเมือง แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ที่ขับเคลื่อนโครงการนี้คือข้าราชการประจำ เช่น ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอคส. เป็นต้น (ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาดังกล่าว) ซึ่งท่านไม่สามารถที่จะปัดความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เพราะท่านมีอำนาจหน้าที่ที่จะสามารถทักท้วงได้ แต่ท่านไม่ทำ อาจจะเป็นเพราะเกรงกลัวนักการเมืองหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าพวกท่านในฐานะที่เป็นข้าราชการหรือเป็นข้าของแผ่นดินอย่างแท้จริง ท่านจะต้องไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองชั่วเหล่านี้อย่างเด็ดขาด ส่วนจะมีใครต้องรับผิดชอบบ้างนั้น คงต้องรอผลการชี้มูลความผิดจากป.ป.ช. ซึ่งคงจะมีผลออกมาภายในเวลาไม่ช้านี้

นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่ทำลายข้าวไทยในทุกมิติอย่างยับเยินแล้ว ท่านยังจะทำลายข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง คือ การกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิเพื่อเอาใจพ่อค้าที่จะใช้ข้าวอื่นมาปลอมปนกับข้าวหอมมะลิ ซึ่งก็คงจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่คิดเช่นนี้ได้ เช่นเดียวกับนโยบายจำนำข้าวที่เป็นโครงการอุดหนุนที่แพงและสร้างความเสียหายใหญ่หลวงที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายเกษตรไทย อุดหนุนชาวนามีฐานะ ผู้บริโภค โรงสี โกดัง ผู้ตรวจข้าว สร้างความร่ำรวยให้พ่อค้า พรรคพวก และนักการเมือง (TDRI: กรุงเทพธุรกิจ)

กระทรวงพาณิชย์ โปรดหยุดและทบทวนบทบาทและหน้าที่ของท่านต่อนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวได้แล้วหรือยัง อย่าทำลายข้าวไทยให้มากไปกว่านี้อีกเลย

เครื่องพ่นสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น