วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เกษตรกรปลูกมันเกี่ยวกับระบบน้ำหยด

เกษตรกรปลูกมันเกี่ยวกับระบบน้ำหยด
คุณชาติชาย ศิริพัฒน์ เพื่อนร่วมชายคาหน้าเกษตร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ บรรยายบทความเรื่องระบบน้ำหยดกับโรคมันฯ ความจริง...ที่ต้องปฏิเสธ เนื้อหาจุดสำคัญเป็นอย่างไร ไม่ขอพูดถึง วันนี้ให้ความรู้แก่ชาวนาชาวไร่ ผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ใช้ระบบน้ำหยด ให้พ้นอุปสรรคไส้เดือนฝอย ทำรากมันสำปะหลังเป็นปุ่มปม มันฯไม่ออกหัวก่อนอื่นต้องบอกว่า...อย่าเพิ่งตื่นตูม ไปโทษว่าระบบน้ำหยดไม่ดี แล้วไปกำจัดทิ้งเลิกใช้เพราะว่าการใช้ระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลัง ไม่ได้มีปัญหาในทุกพื้นที่... การใช้ระบบน้ำหยดจะไร้ปัญหาเลย ถ้าดินในแปลงปลูกไม่มีเชื้อไส้เดือนฝอย หากใช้ระบบน้ำหยด อยากทราบว่าดินในแปลงปลูกของตัวเองมีเชื้อไส้เดือนฝอยหรือไม่ วิธีตรวจง่ายๆ ถ้าปลูกมาแล้ว 3-4 เดือน ให้ลองถอนต้นขึ้นมาดู ถ้ารากมีปมปุ่มคล้ายรากต้นถั่ว และมีรากเล็กๆเต็มไปหมด มันฯ ไม่มีหัว นั่นแสดงว่าบริเวณของเรามีเชื้อไส้เดือนฝอยซุกซ่อนอยู่ อย่าเสียเวลารออิทธิฤทธิ์ว่ามันฯจะออกหัวได้ ให้รื้อทิ้งไปทั้งหมด แล้วลงปลูกสร้างใหม่...เปลี่ยนแปลงมาปลูกพันธุ์ระยอง 72 เพราะเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงต่อโรคไส้เดือนฝอย แต่ท่อนพันธุ์อาจจะหาลำบากหน่อย เพราะหลายปีที่ผ่านมา ชาวไร่ไม่ค่อยนิยมปลูก ด้วยอ่อนแอต่อเพลี้ยแป้งสีชมพู แต่อาจจะแก้ปัญหาด้วยการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยาคุ้มกันเพลี้ยแป้งก่อนปลูก แต่ถ้าคิดว่า พอแล้ว ไม่เอาแล้วมันฯ จะปลูกอย่างอื่นแทน...ถ้าว่าจะปลูก พืชปรับปรุงดิน ชี้ทางให้ปลูกปอเทือง เนื่องจากไส้เดือนฝอยไม่พิสมัยกลิ่นรากปอเทือง....แต่ถ้าตั้งใจจะปลูกพืชทำเงิน เอาระบบน้ำหยดมาใช้ปลูกดาวเรือง เก็บดอกขายจะดียิ่งนัก เพราะว่าเป็นพืชอีกพันธุ์ที่ไส้เดือนฝอยไม่ชอบหรือจะเอาระบบน้ำหยดไปใช้กับพืชอย่างอื่น ที่ทำกำไรได้ดีกว่าและเร็วกว่ามันสำปะหลัง จะยิ่งน่าสนใจ...อย่างไรก็ตาม มะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลถั่ว ต้องมองข้าม เพราะไส้เดือนฝอยช้อบชอบ ส่วนจะปลูกพืชอะไรที่พอเหมาะและทำกำไรได้ดี นอกจากจะต้องดูตลาดในเขตพื้นที่ก่อนว่ามีความประสงค์อะไร...ควรปรึกษาหารือเจ้าหน้าที่เกษตรผู้มีงานการให้ความรู้เกษตรกรว่า พืชตระกูลไหน พอจะต่อสู้กับไส้เดือนฝอยที่มากัดรับประทานรากพืชได้.

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีจัดการมะนาวกับสวนผลไม้แนวเกษตรผสมผสาน

2340
โดย สุรัตน์ อัตตะ
         การก้าวเข้ามาสวมหมวกเกษตรกรเต็มขั้นของข้าราชการวัยเกษียณ อย่าง “จำรัส คูหเจริญ” ด้วยการเนรมิตสวนเกษตรผสมผสานที่เน้นมะนาวครบวงจรในใจกลางกรุง ภายใต้ชื่อ “สวนเกษตรธนบุรี” ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำเงิน สร้างความร่ำรวย แต่ต้องการเก็บพื้นที่สวนผลไม้ไว้เป็นมรดกตกทอดแก่คนรุ่นหลังว่า ครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งปลูกส้มมีชื่อเสียง ที่มีชื่อว่า “ส้มบางมด”
       แอบหนีความวุ่นวายทางเมืองมาดูการทำสวนมะนาวครบวงจรของลุงจำรัส คูหเจริญ เกษตรกรวัย 75 เจ้าของสวนเกษตรธนบุรี ริมถนนเทอดดำริ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ที่ใช้พื้นที่บริเวณบ้านเพียง 2 ไร่เศษ เนรมิตเป็นสวนมะนาวครบวงจร สลับกับไม้ผลหายากชนิดอื่นๆ
       อาทิ กล้วยนมสาว กล้วยไข่หอม ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ พันธุ์ขาวหอม ขนุน มะม่วง ฯลฯ ก่อนหน้านี้ปลูกส้มบางมด ต้นรักและกล้วยไม้ ที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อ แต่หลังจากมีทางด่วนตัดผ่านทำให้พื้นที่บางส่วนถูกเวนคืน ทำให้การปลูกไม้ผลมีปัญหา จึงหันมาปลูกมะนาวแทน
       “พื้นที่ตรงนี้เป็นที่มรดก เมื่อก่อนเนื้อที่เยอะกว่านี้ โดนทางด่วนตัดผ่าน ถูกเวนคืนจึงเหลือแค่ 2 ไร่เศษ ก็อยากใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ก็เลยปลูกมะนาว แต่ก็ยังไม่ทิ้งของเดิมเป็นสวนเกษตรผสมผสาน เพราะยังมีผลไม้หลากหลายชนิดปลูกไว้รวมกับมะนาวในพื้นที่เดียวกัน”
       ลุงจำรัสย้อนอดีตให้ฟังว่า หลังจากเกษียณชีวิตราชการเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ก็หันมาทำสวนมะนาวอย่างจริงๆ จังๆ โดยเริ่มจากปลูกมะนาวแป้นทั่วไป แต่ไม่นานก็เกิดปัญหาโรคแคงเกอร์ระบาด จากนั้นก็คิดหาทางพัฒนาสายพันธุ์มะนาวใหม่เพื่อต้านทานโรคแคงเกอร์ จนประสบความสำเร็จเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา มีชื่อว่า จำรัส 9 จากนั้นก็ต่อยอดปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ลูกดก ผลโต และน้ำมาก พร้อมตั้งชื่อใหม่ว่า จำรัส 28 และจำรัส 29 ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
       “จำรัส เป็นชื่อผมเอง จึงเอามาใช้กับพันธุ์มะนาว ชื่อว่า จำรัส 28 และจำรัส 29 เป็นพันธุ์ที่ได้พัฒนามาจากจำรัส 9 เป็นมะนาวลูกผสมระหว่างแป้นพวง (พันธุ์แม่) ผสมกับมะนาวน้ำหอม (ด่านเกวียน) จุดเด่นของมะนาวพันธุ์นี้คือ ให้ลูกดก ผลโตและมีน้ำมาก กลิ่นเหมือนมะนาวแป้น เปลือกบาง น้ำหนักผล 70-100 กรัม เจริญเติบโตดี ใบใหญ่และต้านทานโรคได้ดีมากๆ โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ ส่วนข้อแตกต่างสองสายพันธุ์นี้ จำรัส 29 จะมีหนามเยอะและคมมาก ส่วนจำรัส 28 ไม่มีหนามหรือมีเล็กน้อย ส่วนอย่างอื่นจะใกล้เคียงกัน”
         เจ้าของสวนเกษตรธนบุรีชี้จุดเด่นของมะนาวทั้งสองสายพันธุ์ระหว่างพาเดินชมตามจุดต่างๆ โดยจุดแรกเป็นโรงเรือนเพาะชำกิ่งพันธุ์มะนาวเพื่อเตรียมส่งให้ลูกค้า ซึ่งการเพาะชำกิ่งขายนั้นถือเป็นรายได้หลักของสวน โดยแต่ละเดือนสามารถขายได้เฉลี่ย 200-300 กิ่ง สนนในราคากิ่งละ 200 บาท โดยจะเพาะชำตามคำสั่งซื้อของลูกค้าเท่านั้น โดยจะใช้เวลาเพาะชำประมาณ 1-2 เดือน จึงจะนำไปปลูกในแปลง ส่วนผลมะนาวจะขาย(ส่ง)สนนในราคาผลละ 5 บาท  
         ถัดมาเป็นแปลงปลูกมะนาวทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 200 ต้น สลับกับการปลูกพืชผักสมุนไพรในระหว่างต้น อาทิ มะเขือ ตะไคร้ พริกขึ้หนู ขิงข่า เป็นต้น ส่วนไม้ผลอื่นๆ จะปลูกไว้ตามริมรั้วเพื่อเป็นแนวป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ส้มโอ ขนุนและมะม่วง โดยจะมีผลผลิตออกตลอดทั้งปี ในขณะที่มะนาวถือเป็นผลผลิตที่ทำรายได้หลัก ซึ่งมะนาวแต่ละต้นจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 400-500 ผล โดยจะเน้นการบังคับให้ออกนอกฤดู เพราะจะจำหน่ายได้ในราคาที่สูงนั้นเอง
         หลังเดินชมสวนมะนาวอยู่พักใหญ่ จากนั้นก็แวะมาดูโรงผลิตปุ๋ยเคมีน้ำ สร้างเป็นโรงเรือนตั้งอยู่บริเวณท้ายสวน ซึ่งลุงจำรัสบอกว่าเป็นปุ๋ยที่ผลิตเองเพื่อลดต้นทุน ทำให้ทุกวันนี้การดูแลสวนเกือบจะไม่ต้องใช้จ่ายอะไรเลย เพราะต้นทุนหลักอย่างปุ่ยก็ผลิตเอง ใช้เอง ซึ่งปุ๋ยที่ผลิตนี้มีอยู่ 3 สูตร ประกอบด้วย เบอร์ 1 จะเน้นบำรุงต้น บำรุงใบให้เจริญงอกงาม เบอร์ 3 จะเน้นเร่งดอก และเบอร์ 4 จะเร่งการติดผล บำรุงต้นและผลให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
       “ปุ๋ยแต่ละสูตรใช้ไม่เหมือนกัน อย่างเบอร์ 1 จะใส่ตอนลงแปลงปลูกใหม่ๆ ส่วนเบอร์ 3 ใส่ช่วงออกดอก และเบอร์ 4 ใส่ตอนติดผลแล้ว อัตราส่วนผสมปุ๋ย 10 ซีซีต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณโคนต้น โดยใส่เฉลี่ย 3-5 วันครั้ง” ลุงจำรัสเผย
       ไม่ได้แค่ทำสวนมะนาวเพื่อจำหน่ายกิ่งพันธุ์และผลมะนาวเท่านั้น แต่เป้าหมายสำคัญต้องการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจ โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนให้หันมาสนใจอาชีพเกษตรมากขึ้น นักเรียน นักศึกษาสนใจเรียนรู้เป็นหมู่คณะ โทร.08-1552-6700 ลุงจำรัสยินดีให้คำแนะนำฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
         จึงไม่แปลกใจหากเห็นชายชราวัย 75 เศษ ดูมีความสุขไม่น้อยกับการถ่ายทอดเคล็ดลับในการทำสวนเกษตรผสมผสานและการปลูกมะนาวครบวงจรแก่เด็กๆ และเยาวชนที่สนใจ(ฟรี)ในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นความตั้งใจของลุงที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ให้เป็นวิทยาทานสำหรับอนาคตของชาติ
ที่มา http://www.chaoprayanews.com/2016/01/04/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%88-2/